Saturday, 27 April 2024
LITE TEAM

27 เมษายน พ.ศ. 2382 ‘ในหลวง ร.3’ โปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ ‘พระบรมราชโองการห้ามสูบ-ค้าฝิ่น’ นับเป็นเอกสารทางราชการฉบับแรก ที่ใช้วิธีการพิมพ์ด้วยตัวอักษรไทย

ฝิ่นนับเป็นพืชที่เป็นสารเสพติดและมอมเมาผู้คนมาหลายยุคหลายสมัย รวมถึงประเทศไทยเองก็เคยถูกมอมเมาด้วย ‘ฝิ่น’ ทำให้พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ หาทางปราบปรามและป้องกัน การค้า การสูบฝิ่นมาโดยตลอด

ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 3 เองก็ได้ทรงตระหนักถึงพิษภัยของฝิ่น ทำให้ในช่วงปีพุทธศักราช 2382 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกวดขัน กวาดล้างการค้าฝิ่นครั้งใหญ่ ทั้งปราบปรามผู้เสพติดอย่างหนัก ริบฝิ่นในปริมาณมาก และโปรดให้รวมนำมาเผาทำลายที่สนามไชย หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2382

นอกจากการปราบปรามอย่างจริงจังแล้วพระองค์ยังได้ออก ‘พระบรมราชโองการห้ามสูบและค้าฝิ่น’ โดยในวันนี้ 27 เมษายน พ.ศ. 2382 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จ้างโรงพิมพ์หมอบรัดเลย์ มิชชันนารีชาวอเมริกัน พิมพ์พระบรมราชโองการ ประกาศเรื่อง ห้ามสูบฝิ่นและค้าฝิ่น เป็นใบปลิวจำนวน 9,000 ฉบับ

ซึ่ง ‘พระบรมราชโองการห้ามสูบและค้าฝิ่น’ นี้จึงนับเป็นเอกสารทางราชการฉบับแรกที่ใช้วิธีการพิมพ์ด้วยตัวอักษรไทย และพิมพ์โดยโรงพิมพ์ในประเทศสยาม โดยสั่งซื้อตัวพิมพ์มาจากประเทศสิงคโปร์

19 เมษายน พ.ศ. 2509 ‘ในหลวง ร.9’ ทรงแล่นเรือใบ ‘เวคา’ ด้วยลำพังพระองค์เอง ใช้เวลา 17 ชั่วโมง เพื่อเสด็จข้ามอ่าวไทยสู่อ่าวนาวิกโยธิน

เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2509 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงแล่นใบ ประเภทโอเค (International O.K. Class) ชื่อเรือ ‘เวคา’ ด้วยลำพังพระองค์เอง จากพระราชวังไกลกังวล อําเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ออกเดินทางข้ามอ่าวไทยมายังอ่าวนาวิกโยธิน รวมระยะทาง 60 ไมล์ทะเล ใช้เวลาในการแล่นใบ 17 ชั่วโมงเต็ม เมื่อเสด็จถึงทรงฉลองพระองค์ชุดสนามทหารนาวิกโยธิน โดยได้ทรงนําธงราชนาวิกโยธิน ที่ทรงนําข้ามอ่าวไทยมาด้วย ปักเหนือก้อนหินใหญ่ที่ชายหาดของอ่าวนาวิกโยธิน และหลังจากทรงปักธงราชนาวิกโยธินแล้ว พร้อมทั้งทรงลงพระปรมาภิไธย บนแผ่นศิลาจารึก

หลังจากนั้นเสด็จประทับเรือพระที่นั่งจันทร ข้ามอ่าวไทยกลับพระราชวังไกลกังวล ต่อมาในปีเดียวกันได้พระราชทานหางเสือเรือพระที่นั่งเวคา ที่ทรงแล่นใบข้ามอ่าวไทย เพื่อเป็นรางวัลนิรันดร แก่ผู้ชนะเลิศใน การแข่งขันเรือใบข้ามอ่าวไทยประจําปีของสมาคมแข่งเรือใบแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จนถึงปัจจุบัน

ต่อมาเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 พระบาทสมเด็จพระชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นตัวแทนของนักกีฬาทีมชาติไทย เข้าร่วมแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 ทรงชนะเลิศการแข่งขันกีฬาเรือใบประเภทโอเค ในรายการแข่งขันระดับนานาชาติ และทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญทอง ยังความปลาบปลื้มใจแก่ชาวไทยโดยทั่วกัน ถือเป็นวันประวัติศาสตร์ของชาติด้านการกีฬาของประเทศไทย ต่อมาคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบกำหนดให้วันที่ 16 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันกีฬาแห่งชาติ ตราบจนปัจจุบัน

ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ประจำวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2567

✨ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ประจำวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2567

รางวัลที่ 1 : 943598

เลขหน้า 3 ตัว : 729 / 727

เลขท้าย 3 ตัว : 154 / 200

เลขท้าย 2 ตัว : 79

รางวัลข้างเคียงรางวัลที่ 1 : 943597 / 943599

รางวัลที่ 2 : 062259 / 100755 / 297933 / 448213 / 282285

รางวัลที่ 3 : 788457 / 147563 / 018772 / 773313 / 734269 / 454577 / 720144 / 267940 / 595074 / 665998

รางวัลที่ 4 : 133343 / 863195 / 727091 / 194615 / 972561 / 040459 / 514761 / 745069 / 924865 / 101738 / 261565 / 879972 / 666284 / 256511 / 299820 / 882048 / 985476 / 740276 / 911165 / 145541 / 876132 / 397217 / 001228 / 311765 / 095714 / 449523 / 465845 / 971568 / 651025 / 131029 / 300839 / 775119 / 998458 / 419267 / 236113 / 033439 / 579570 / 385255 / 408301 / 719958 / 599692 / 161787 / 721757 / 071875 / 976687 / 705082 / 068452 / 842015 / 616783 / 475389

รางวัลที่ 5 : 646104 / 53413 / 996997 / 556347 / 653726 / 322555 / 236948 / 234248 / 536503 / 616068 / 531320 / 092288 / 692070 / 383482 / 616761 / 019836 / 650707 / 175313 / 081630 / 106078 / 772486 / 936704 / 263801 / 631424 / 549465 / 744261 / 175392 / 209708 / 614633 / 906751 / 008649 / 560631 / 314231 / 271470 / 172715 / 197190 / 769576 / 433446 / 680808 / 299159 / 306461 / 751072 / 182425 / 088983 / 996353 / 411758 / 179497 / 752050 / 277674 / 756546 / 803498 / 129309 / 562888 / 644959 / 193111 / 862993 / 898212 / 598986 / 120489 / 104180 / 116314 / 893211 / 442322 / 106160 /040197 / 087920 / 182825 / 869716 / 454174 / 549714 / 079611 / 732916 / 323067 / 147982 / 063690 / 215548/ 341167 / 949675 / 061659 / 381378 / 957591 / 100329 / 218351 / 737012 / 876637 / 070320 / 622334 / 237941 / 657266 / 342931 / 464986 / 960034 / 851456 / 972601 / 424276 / 045170/ 814109 / 964814 / 690806 / 487179

15 เมษายน พ.ศ. 2455 โศกนาฏกรรมสุดเศร้า ‘ไททานิค’ จมดิ่งสู่ก้นมหาสมุทรแอตแลนติก หลังปะทะกับภูเขาน้ำแข็ง ทำให้มีผู้เสียชีวิต-สูญหายจำนวนมาก

เรือที่ได้ชื่อว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ในเวลานั้น เดินทางออกจากเซาท์แทมป์ตัน สหราชอาณาจักร มุ่งหน้าสู่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เป็นครั้งแรก และเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนจะจมดิ่งสู่มหาสมุทรแอตแลนติก หลังปะทะกับภูเขาน้ำแข็ง เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2455

อาร์เอ็มเอส ไททานิค (RMS Titanic) เป็นเรือโดยสารเดินทางเที่ยวแรกจากเซาท์แทมป์ตัน สหราชอาณาจักร ไปนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา การจมของไททานิค เป็น 1 ใน 3 เรือโดยสารชั้นโอลิมปิก ซึ่งดำเนินการโดยไวต์สตาร์ไลน์ สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2452-2454 เป็นเรือที่ได้รับการออกแบบให้มีความสะดวกสบายและความหรูหราที่สุด โดยบนเรือมียิมเนเซียม สระว่ายน้ำ ห้องสมุด ภัตตาคารชั้นสูงและห้องจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีโทรเลขไร้สายทรงพลังซึ่งจัดเตรียมไว้เพื่อความสะดวกของผู้โดยสาร 

ก่อนที่ไททานิคจะออกเดินทาง ได้เกิดเหตุไฟไหม้บริเวณส่วนเก็บถ่านหินที่ บล็อก 5 และ 6 และไฟยังไหม้ต่อเนื่องตลอดการเดินทาง ส่งผลให้ผนังกั้นนํ้าชั้นที่ 4 ก่อนถึงห้องเครื่อง และ ส่วนที่เก็บถ่านหินนั้นร้อนมากจนผนังกั้นนํ้าร้อนจนแดง และตัวเหล็กของผนังกั้นนํ้าบิด งอ ลดการทนทานนํ้าลง

ในวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2455 เมื่อเดินทางห่างจากเซาท์แทมป์ตันไปทางใต้ราว 600 กิโลเมตร ไททานิค เกิดอุบัติเหตุชนเข้ากับภูเขาน้ำแข็ง ทำให้แผ่นลำเรือเกิดความเสียหาย จนนํ้าทะลักเข้าไปในเรือ และเนื่องจากผนังกั้นนํ้าชั้นที่ 4 ได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้จากห้องเก็บถ่านหิน ส่งผลให้นํ้าทะลักเข้ามาภายในตัวเรือ จนกระทั่งเรือจมลงสู่ก้นมหาสมุทรในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2455

เหตุการณ์นี้เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งโศกนาฏกรรมที่สูญเสียเป็นอย่างมาก สมาชิกลูกเรือและผู้โดยสารมากมายต้องเสียชีวิตและสูญหาย นับเป็นภัยพิบัติทางทะเลที่มีผู้เสียชีวิตมากครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์

14 เมษายน ของทุกปี ครม.กำหนดให้เป็น ‘วันครอบครัวแห่งชาติ’ หวังให้ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญของสถาบันครอบครัว

ผ่านพ้นวันผู้สูงอายุ 13 เมษายนไปแล้ว ถัดมาในวันที่ 14 เมษายน ก็เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญในช่วง ‘สงกรานต์’ เช่นกัน นั่นก็คือ ‘วันครอบครัว’ (Family Day) หรือ ‘วันครอบครัวแห่งชาติ’ เป็นวันที่กำหนดขึ้นเพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของสถาบันครอบครัวที่แม้ว่าจะเป็นหน่วยที่เล็กที่สุด แต่ก็มีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกต่างก็มี ‘วันแห่งครอบครัว’ เช่นเดียวกันแต่อาจมีการกำหนดช่วงวันและเดือนที่แตกต่างกันออกไป 

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2532 คณะรัฐมนตรี ซึ่งมีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และมีคุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยคุณหญิงสุพัตราได้เสนอมติให้ ครม. พิจารณาให้วันที่ 14 เมษายน ของทุกปี เป็นวันแห่งครอบครัว ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ของไทย 

สาเหตุที่เลือกวันครอบครัวในช่วง ‘เทศกาลสงกรานต์’ เนื่องจากถือเป็นโอกาสดีในการรวมญาติ รวมครอบครัว ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบุพการี รดน้ำดำหัว ขอพร ผู้เฒ่าผู้แก่ เพื่อเสริมสร้างความเป็นสิริมงคล และเพื่อความอบอุ่น เป็นสุขของครอบครัว ตามประเพณีไทยที่เคยปฏิบัติกันมา ทั้งนี้ ต่อมา ครม.ได้มีมติเห็นชอบและอนุมัติให้วันดังกล่าวเป็น ‘วันครอบครัว’ มาจนถึงปัจจุบัน

12 เมษายน พ.ศ. 2476 ‘ปรีดี พนมยงค์’ เดินทางออกนอกประเทศไทย ก่อนไปพำนักที่ฝรั่งเศส ตามคำสั่งของรัฐบาล

12 เมษายน เป็นวาระครบรอบ 91 ปีที่ ‘ปรีดี พนมยงค์’ หรือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรุษอาวุโสของไทย ต้องเดินทางไปพำนักที่ประเทศฝรั่งเศสตามคำสั่งของรัฐบาล เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2476 ภายหลังการเสนอร่าง ‘เค้าโครงการเศรษฐกิจ’ หรือที่เรียกกันว่า ‘สมุดปกเหลือง’ แต่แนวคิดของปรีดีกลับถูกคัดค้านด้วยเสียงส่วนใหญ่ในสภา รวมถึงยังมีการออก ‘สมุดปกขาว’ ซึ่งเป็นข้อวินิจฉัยที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ตอบโต้ร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจฉบับนี้ว่า เป็นแนวคิดที่ลอกเลียนพรรคบอลเชวิคของรัสเซีย อีกทั้งยังเกิดข้อกล่าวหาว่าปรีดีเป็นคอมมิวนิสต์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ปรีดีตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง และเดินทางออกนอกประเทศในที่สุด

นอกจากนี้ การเกิดขึ้นของกฎหมายต่อต้านคอมมิวนิสต์ยังเป็นอีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้ปรีดีต้องถูกเนรเทศออกจากประเทศ ไปยังประเทศฝรั่งเศสในช่วงนั้น รวมถึงคณะผู้ก่อการคณะราษฎรถูกจำกัดบทบาทให้หมดอำนาจหน้าที่ไป แต่ในท้ายที่สุดปรีดีก็ได้กลับเข้ามาประเทศไทยอีกครั้งภายหลังเหตุการณ์รัฐประหารครั้งที่ 2 โดยพระยาพหลพลพยุหเสนาได้ทำการยึดอำนาจจากรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2476 และเมื่อได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว ก็ได้เชิญปรีดีกลับมาช่วยเหลืองานรัฐบาลต่อไป โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องไม่รื้อฟื้นเค้าโครงการเศรษฐกิจอีก

9 เมษายน พ.ศ. 2480 กระทรวงกลาโหมยกฐานะ ‘กรมทหารอากาศ’ เป็น ‘กองทัพอากาศ’ พร้อมกำหนดให้วันนี้ในทุกๆ ปีเป็น ‘วันกองทัพอากาศ’

ย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2464 กระทรวงกลาโหม ได้พิจารณาเห็นว่า กำลังทางอากาศ มิได้เป็นกำลังเฉพาะในด้านยุทธศาสตร์ทางทหารเท่านั้น แต่มีประโยชน์อย่างกว้างขวางต่อกิจการด้านอื่น ๆ อีกด้วย จึงได้แก้ไขการเรียกชื่อจาก กรมอากาศยานทหารบกเป็น 'กรมอากาศยาน' และเป็น 'กรมทหารอากาศ' ในเวลาต่อมา โดยให้อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโดยตรง พร้อมทั้งได้มีการกำหนดยศทหาร และการเปลี่ยนแปลง เครื่องแบบจากสีเขียว มาเป็นสีเทา ดังเช่นในปัจจุบัน

ต่อมาเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2480 กระทรวงกลาโหมได้ยกฐานะ ‘กรมทหารอากาศ’ เป็น ‘กองทัพอากาศ’ ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทั้งนี้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ฉบับที่ 2 พุทธศักราช 2479 ตราไว้ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2480 ในพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน ในมาตรา 9 ได้กำหนดผู้บังคับบัญชาของกองทัพอากาศไว้ว่า ‘กองทัพอากาศ มีผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นผู้บังคับบัญชาดำเนินกิจการ’ และเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2540 กองทัพอากาศ ได้ออกประกาศกองทัพอากาศ เรื่อง วันที่ระลึกกองทัพอากาศ และวันกองทัพอากาศ โดยได้กำหนดให้ วันที่ 27 มีนาคม เป็น ‘วันที่ระลึกกองทัพอากาศ’ และวันที่ 9 เมษายน เป็น ‘วันกองทัพอากาศ’

ทั้งนี้ กองทัพอากาศไทย เกิดขึ้นภายหลังจากการจัดตั้งกองทัพอากาศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นกองทัพอากาศหน่วยแรกของโลกเพียง 4 ปีเท่านั้น ถือได้ว่าเป็นกองทัพอากาศที่ก่อตั้งเป็นลำดับแรก ๆ ของเอเชีย และมีวีรกรรมครั้งสำคัญเกิดขึ้นมากมายในช่วงกรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส ปัจจุบันมีกองบัญชาการอยู่ที่เขตสายไหม เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และภายในปี พ.ศ. 2554 หลังจากได้รับมอบฝูงบิน Gripen กับเครื่องบินเตือนภัยทางอากาศจากบริษัท Saab และการปรับปรุงครึ่งชีวิตให้กับฝูงบิน F-16A/B ให้มีมาตรฐานเทียบเท่ากับรุ่น C/D กองทัพอากาศไทยจะมีอิทธิพลทางอากาศมากเป็นอันดับที่สองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากสิงคโปร์ในแง่ของขีดความสามารถและความทันสมัยของอากาศยาน

โดย ภารกิจของกองทัพอากาศนั้น มีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพอากาศ การป้องกันราชอาณาจักร และดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังกองทัพอากาศตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม มีผู้บัญชาการทหารอากาศเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

6 เมษายน พ.ศ. 2325 ‘ในหลวง ร.1’ เสด็จปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พร้อมก่อสร้างพระนครแห่งใหม่ในนาม ‘กรุงเทพมหานคร’ เมืองหลวงปัจจุบัน

วันจักรี (Chakri Memorial Day) ตรงกับวันที่ 6 เมษายนของทุกปี อันเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงเสด็จปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และเป็นวันครบรอบการก่อตั้งราชวงศ์จักรี ในวันนี้จึงถือเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งที่พวกเราชาวไทยควรให้ความระลึกถึง กว่าจะมาเป็นสยามได้ในทุกวันนี้

ทั้งนี้ วันจักรี (Chakri Memorial Day) คือ วันที่ระลึกถึงมหาจักรีบรมราชวงศ์ เป็นวันที่ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี อีกทั้งยังเริ่มก่อสร้างพระนครแห่งใหม่ในนาม ‘กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์’ ที่นับว่าเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ถัดจากกรุงธนบุรี ซึ่งเมื่อครั้งที่กรุงธนบุรีเป็นราชธานีนั้น มีอาณาบริเวณรวมทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้เป็นเมืองหลวงที่มีแม่น้ำไหลผ่านกลางเมือง ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเปลี่ยนนามใหม่ จาก ‘กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์’ เป็น ‘กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์’ ซึ่งช่วงเวลาตั้งแต่ก่อตั้งกรุงเทพมหานครฯ เมื่อปี พ.ศ. 2325 มักเรียกกันว่า สมัยรัตนโกสินทร์ เช่นเดียวกันกับที่เคยเรียกยุคสมัยที่ผ่านมาในสยาม โดยพระเจ้าแผ่นดินในสมัยรัตนโกสินทร์นี้ได้สืบสันตติวงศ์ต่อเนื่องกันมาในราชวงศ์เดียวกันจนถึงปัจจุบัน มีทั้งหมด 10 รัชกาล

จากบันทึกตามประวัติศาสตร์ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูปของบูรพมหากษัตริย์ 4 พระองค์ (รัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 4) ขึ้นประดิษฐานเอาไว้สำหรับให้พระมหากษัตริย์พระองค์ต่อ ๆ ไป ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนทั่วไปได้ถวายความเคารพสักการะ เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณเป็นธรรมเนียมปีละหนึ่งครั้ง และได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ต่อมาก็ได้มีการเปลี่ยนสถานที่ประดิษฐานหลายต่อหลายครั้ง
จนมาถึงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระองค์ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เคลื่อนย้ายพระบรมรูปของบูรพมหากษัตริย์ 4 พระองค์มาไว้ ณ ปราสาทเทพบิดร ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ 5 พระชนกชาถ ซึ่งพระที่นั่งสำหรับประดิษฐานพระบรมรูปองค์นี้ รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดให้ซ่อมแซมจากพุทธปรางค์ปราสาทเพื่อการนี้โดยเฉพาะ และได้พระราชทานพระนามว่า ปราสาทเทพบิดร โดยได้มีการซ่อมแซมและประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง 5 รัชกาลแล้วเสร็จในเดือนเมษายน พ.ศ. 2461 จากนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชโองการประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูปขึ้นในวันที่ 6 เมษายนปีเดียวกัน อีกทั้งยังโปรดให้เรียกวันที่ 6 เมษายนนี้ว่า วันจักรี

นอกจากนั้น ในวันที่ 6 เมษายน ซึ่งเป็นวันจักรีของทุกปี รัฐบาลยังได้ประกาศเป็นวันหยุดราชการ แต่หากในปีใดที่วันจักรีตรงกับวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ ก็ให้หยุดชดเชยได้ในวันทำการวันต่อไป

25 มีนาคม พ.ศ. 2434 ‘ในหลวง ร.5’ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดตั้ง ‘กระทรวงยุติธรรม’ ปรับโฉมระบบยุติธรรมไทยให้ทันสมัย - แก้ปัญหาพิจารณาคดีล่าช้า

ประเทศสยามในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 บ้านเมืองเกิดปัญหาต่าง ๆ มากมายในกระบวนการพิจารณาคดีความ ทำให้การอำนวยความยุติธรรมเป็นไปอย่างยากลำบาก จนนำไปสู่วิกฤตทางการศาลขึ้น โดยสาเหตุหลักมาจาก 

1. ความไม่เหมาะสมของระบบการศาลเดิมที่ขึ้นตามกระทรวงต่าง ๆ ทำให้เกิดความล่าช้าสับสน

2. ความไม่เหมาะสมของวิธีพิจารณาความแบบเดิม ที่มีวิธีการพิจารณาและพิพากษาคดี รวมถึงขอบเขตการลงโทษที่ไม่เหมาะสม

3. ความบีบคั้นจากต่างประเทศในด้านการศาล สืบเนื่องมาจากการมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของชาวต่างชาติ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความมั่นคงในเอกราชของไทย

ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้ระบบยุติธรรมในสยามมีประสิทธิภาพ มีความเหมาะสม และสามารถบังคับใช้ได้แก่ประชาชนทั่วไปในสยาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศจัดตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2434 โดยมีการรวบรวมศาลต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายเข้ามาในระบบภายใต้การควบคุมของกระทรวงยุติธรรม และกำหนดรูปแบบวิธีพิจารณาและพิพากษาคดีขึ้นใหม่อีกด้วย

18 มีนาคม พ.ศ. 2448 'ในหลวง ร.5' ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะ ต.ท่าฉลอม เป็น ‘สุขาภิบาลท่าฉลอม’ จุดเริ่มต้นของการกระจายอำนาจการปกครองแก่ ปชช.ท้องถิ่น ให้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

คณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดให้วันที่ 18 มีนาคม ของทุกปี เป็น ‘วันท้องถิ่นไทย’ เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงมีพระบรมราชโองการให้ยกฐานะ ‘ตำบลท่าฉลอม’ ขึ้นเป็น ‘สุขาภิบาลท่าฉลอม’ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2448 ถือเป็น ‘ปฐมบทแห่งการปกครองท้องถิ่นไทย’ และเป็นรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่น

ทั้งนี้ ตามประวัติศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2440 (ร.ศ. 116) สุขาภิบาลแห่งแรกของไทยได้รับการจัดตั้งขึ้นในเขตกรุงเทพมหานครเรียกว่า ‘สุขาภิบาลกรุงเทพ’ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้พระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. 116 ขึ้น โดยผู้บริหารสุขาภิบาลกรุงเทพ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่อยู่ในบังคับบัญชาของเสนาบดีกระทรวงนครบาล ตามที่ทรงทอดพระเนตรมาจากการเสด็จประพาสต่างประเทศ

หลังจากนั้น 8 ปี คือในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2448 (ร.ศ. 124) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการให้ยกฐานะตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาครเป็น ‘สุขาภิบาล’ เรียกว่า ‘สุขาภิบาลท่าฉลอม’ ซึ่งถือว่าเป็นสุขาภิบาล ‘หัวเมือง’ แห่งแรกของไทย ซึ่งในปัจจุบันคือ ‘เทศบาลนครสมุทรสาคร’

สำหรับเหตุที่การจัดตั้งสุขาภิบาลหัวเมืองล่าช้าไปมาก เพราะสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยทรง เล็งเห็นว่า การสุขาภิบาลซึ่งเป็นรูปแบบที่ประชาชนปกครองตนเองนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากราษฎรในหลายด้านไม่ว่าจะเป็นการจ่ายภาษี การร่วมกันดูแลรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชน หากบังคับให้มีขึ้นโดยที่ประชาชนไม่เห็นความจำเป็นก็จะไม่ประสบความสำเร็จ

อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอม จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นของการกระจายอำนาจการปกครองให้แก่ประชาชนและเป็นการถือกำเนิดของการปกครองส่วนท้องถิ่นครั้งแรกในประเทศไทย นอกจากนี้ ในวันท้องถิ่นไทย หน่วยงานต่าง ๆ ในท้องถิ่นจะร่วมกันจัดกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งกิจกรรมสาธารณประโยชน์ 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top